
Mind Map คืออะไร ทำไมต้องใช้ Mind Map ?
ว่ากันว่า โทนี บูซาน
(TonyBuzan) นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดริเริ่ม นำเอาความรู้เรื่องสมองมาปรับใช้กับการเรียนรู้ของตนเองแล้วปรากฎว่าได้ผลดี ต่อมาได้รับความนิยมและมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
Mind Map หรือแผนที่ความคิด
เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพอย่างมากในการช่วยพัฒนาสมอง กระตุ้นความคิด
ความจำในเรื่องต่างๆ ได้อย่างมีระบบ
และมีความเชื่อมโยงที่จะทำให้เวลานึกถึงอะไรสักอย่างเด็กๆจะเห็นภาพรวมนั้นขึ้นมาทันที
และยังถือว่าเป็นรูปแบบการจดบันทึกแบบสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ กล่าวคือการจดบันทึกด้วยวิธีนี้จะใช้รูปภาพ
เส้น สี แทนการจดแบบเรียงตัวอักษรนั่นเอง
ประโยชน์ที่จะได้เมื่อลูกๆ
ใช้ Mind
Map ในการเรียนรู้
เมื่อเด็กๆ
นึกถึงเรื่องที่สำคัญบางอย่าง การคิดของเด็กๆ ที่ยังอ่านเขียนไม่ได้นั้น
จะเริ่มจากการคิดตาม แล้วนึกภาพเหล่านั้น ทำให้เด็กได้ใช้ความคิด จินตนาการ
เชื่อมโยงสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังสนใจออกมาเป็นรูปภาพแทนตัวอักษร เมื่อมีสิ่งกระตุ้นให้คิดและแก้ปัญหา
ทำให้มองเห็นวิธีการใหม่ๆ และสร้างสรรค์ได้ ซึ่งต่อมาในความจำของเด็กๆ ก็จะมองเห็นรูปที่วาดไว้นั้นทั้งรูป
มองเห็นภาพรวม ซึ่งการเห็นภาพรวมนี่เองจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ต่อไป
การเริ่มเขียน
Mind
Map สำหรับเด็กอนุบาล ควรทำอย่างไร ?
อุปกรณ์ที่ต้องใช้มีเพียง
กระดาษเปล่าๆ ไม่มีเส้นหรือลาย ดินสอ สีเทียนหรือสีไม้ และจินตนาการของเด็กๆ
นั่นเอง
เริ่มต้นจากการสร้างแรงจูงใจ หมายความว่าพ่อแม่อยากให้ลูกรู้เรื่องอะไร
ควรใช้กลยุทธิในการสร้างแจงจูงใจ การให้เด็กสนใจ และควรเลือกเรื่องราวที่ใกล้ตัวเด็ก
เช่น บ้าน โรงเรียน การเล่น เป็นต้น จากนั้น พ่อ แม่ลองตั้งโจทย์กับลูกๆ
และช่วยกันเขียนดูค่ะ เช่น คุณอาจจะตั้งโจทย์ขึ้นมาว่า “ของเล่น”
แล้วกระตุ้นให้เด็กๆ ลองนึกดูค่ะ ภาพที่พ่อ แม่และลูกเห็นมันคือของเล่นต่างๆที่มีรูปทรงและสีสันแตกต่างกันไป
ภาพที่เด็กๆ คิดนั่นแหละค่ะ นำมาจัดกลุ่มของเล่นกลุ่มต่างๆ ได้
จากนั้นนำมาวาดรูปในแผ่นกระดาษเปล่าๆ ก็จะทำให้เด็กๆ สนุกสนานกับการวาดภาพ
การใช้เส้น สี การระบายสีได้อีกด้วยค่ะ
หากยังคิดโจทย์ไม่ได้
ลองถามเด็กๆ ดูซิคะว่าเขาสนใจเรื่องอะไร เขาอยากวาดอะไร จากนั้นพ่อ
แม่ก็เพียงกระตุ้นให้เขาเกิดการคิดต่อยอด หรือใช้วิธีทำเป็นตัวอย่างให้เด็กๆ ดู การให้ดูตัวอย่างจากสื่อต่างๆ
เหล่านี้ก็จะยิ่งช่วย กระตุ้นเด็กๆ ให้เขียนได้อย่างมีประสิ ทธิภาพค่ะ
การเริ่มต้นเขียน
Mind
Map ของน้องมิลค์กี้
ผู้เขียน (แม่) ใช้วิธีเล่าเรื่องและถามในเรื่องต่างๆ
ในบ้านและสิ่งที่เขาเรียนมาจากโรงเรียน จากนั้นก็ต่อยอดความคิดโดยเล่าเรื่องที่เขาเรียนให้ลงรายละเอียดมากขึ้น
เช่น เรียนเรื่อง อาหาร ผลไม้ต่างๆ ก็จะให้ข้อมูลเรื่องอาหารหลัก 5 หมู่ และแบ่งประเภทแต่ละหมู่ว่ามีอะไรบ้าง เมื่อลูกสนใจ
อยากรู้ก็เล่าเรื่องการเชื่อมโยงด้วยวิธี Mind Map ให้ฟัง
พร้อมทั้งให้ดูตัวอย่างที่คนอื่นๆ ทำไว้ซึ่งหาได้ทั่วไปในโลกอินเตอร์เน็ต จากนั้นชวนลูกมาวาดรูปลงในกระดาษ
ซึ่งมิลค์กี้ชอบวาดรูปอยู่แล้ว เลยเป็นเรื่องง่ายที่ไม่ต้องบังคับกัน
บทบาทของแม่ก็กระตุ้นให้คิด พูดช้าๆ ซ้ำๆ แล้วให้ลูกวาดภาพระบายสีด้วยตนเอง
ผลที่ได้คือลูกเข้าใจเรื่องอาหารหลัก 5 หมู่
และสนุกกับการวาดภาพระบายสี แค่นี้ครั้งแรกแม่ว่าก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้ว..................
ความร่วมมือในการ กระตุ้นความคิดเชิงเหตุ ผล โดยใช้ Mind Map น้องมิลค์ได้รับการกระตุ้นอีกครั้ง อย่างสม่ำเสมอที่ รร. ผลงานจากการรวบรวมความคิด การจัดกลุ่ม แยกหมวดหมู่ ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
การสอนโดย mind map มีประโยชน์มากจริงๆ ควรมีกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นความคิดและจินตนาการตามวัย ลูกๆ จะเรียนรู้ จดจำอะไรได้ง่ายขึ้นค่ะ
ตอบลบ